ที่นี่มีคำตอบ
พรรณี  ชุติวัฒนธาดา

คำถามที่ 1
ชื่อ สุพรรณ สุขเอิบ
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน ห้วยทับทันวิทยาคม จังหวัด ศรีสะเกษ
หัวข้อ การศึกษาต่อ
รายละเอียด คือผมจะเรียน คณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ผมค่อนข้างจะมีปัญหาวิชาภาษาอังกฤษได้คะแนนเอ็นทรานซ์แค่ 30 คะแนน ไม่ทราบว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนคณะนี้หรือเปล่าครับ
ถ้าเป็น คณิต ฟิสิกส์ เคมี ผมแม่นครับแต่ถ้าให้เรียนเป็นภาษาอังกฤษจะทำยังไงดีครับ คะแนนผมสามารถที่จะเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ครับ

คำตอบ
การสอบภาษาอังกฤษได้คะแนน 30  ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนวิศวะ เคยเห็นคนที่ได้คะแนน
น้อยกว่านี้  เข้าเรียนคณะนี้เหมือนกัน เขาก็เรียนได้สำเร็จเป็นอย่างดี

การได้เรียนวิชาอื่นเป็นภาษาอังกฤษนั้นจะยิ่งทำให้เราเก่งภาษาอังกฤษขึ้น จริงอยู่ใหม่ๆ (ปีแรก)อาจดูยาก เพราะต้องปรับตัว ปรับความรู้ แล้วก็จะเริ่มชิน และเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะการเรียนภาษาเป็นการใช้ทักษะ
ถ้าได้ฟัง พูด อ่าน เขียนบ่อยๆ ก็จะคุ้นเคยและเรียนได้ดี

หากให้คะแนนเป็นเครื่องวัดความสามารถทางภาษา ขอให้ความรู้สึกว่าการได้คะแนนภาษาอังกฤษน้อย  เป็นกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้ใส่ใจที่จะหาโอกาสฝึกฝนทักษะที่จะฟัง (เพลง-ภาพยนต์ภาษาอังกฤษ) พูด (กับเจ้าของภาษา) อ่าน (หนังสือพิมพ์  นิยาย หรือเน็ต) เขียน (จดหมาย และ อีเมล์ถึงเพ็นเฟรนด์)ให้บ่อยๆขึ้น แล้วก็จะดีขึ้นเอง.

14 กพ.2545


คำถามที่ 2
ชื่อ สถาพร เผือกมุ่ย
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน บางปะกอกวิทยาคม จังหวัด กรุงเทพฯ
หัวข้อ ภาษาต่างประเทศ
รายละเอียด ช่วยอธิบายเรื่องการเปรียบเทียบในภาษาฝรั่งเศสให้หน่อยคะ

คำตอบ
การเปรียบเทียบในภาษาฝรั่งเศสเหมือนกับการเปรียบเทียบในภาษาอังกฤษ คือ  มีการเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ คุณกริยา  คำกริยา และคำนาม ในขั้นต่างๆ 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นเสมอกัน  ขั้นกว่า (มากกว่าและน้อยกว่า)  และขั้นสุด

รายละเอียดเรื่องการเปรียบเทียบหาอ่านได้ไม่ยากจากแหล่งความรู้ที่เป็นตำรา  หนังสือ
และเว็บไซต์ต่างๆ  ซึ่งดูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.sripruetta.ac.th/~0519/data.html#comparaisont

15 กพ. 2545


คำถามที่ 3
ชื่อ พรรณรจน์ วัฒนจิตต์
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน จอมสุรางค์อุปถัมภ์ พระนครศรีอยุธยา
หัวข้อ ภาษาไทย
รายละเอียด ดิฉันทำรายงานภาษาไทยอยู่ อยากได้บทกวี ประเภทวรรณกรรมร่วมสมัย หรือเป็นของคุณเนาวรัตน์ และคุณอังคารก็ได้ แต่ขอแบบเต็มๆ เลยน่ะคะ คืออาจารย์ต้องการเอา 15 บท คะ ที่จริงต้องส่ง 15 แต่เลื่อนได้ ไม่เป็นไร

คำตอบ
วรรณกรรมของคุณเนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์  และคุณอังคาร  กัลยาณพงศ์ เป็นวรรณกรรมอมตะ ใช้ถ้อยคำลึกซึ้ง กินใจ   มีคนชื่นชม (รวมทั้งผู้ตอบด้วย) มากมาย

วรรณกรรมที่มีชื่อว่า วักทะเล  ปณิธานของกวี  รัฐธรรมนูญมิติใหม่ เห่ชมไม้  ปฏิรูปรัตนปัญญา
ใช้ถ้อยคำง่ายๆ แต่ได้ภาพพจน์อย่างน่าอัศจรรยนัก

ส่วนของคุณเนาวรัตน์ ที่มีชื่อว่า บนลานอโศก  นกขมิ้น เพียงความเคลื่อนไหว  มีความไพเราะลึกซึ้ง
เกินกว่าจะใช้คำชมใดๆ

นอกจากนั้นวรรณกรรมของ  อุชเชนี ชื่อ  ขอบฟ้าขลิบทอง ก็ใช้ถ้อยคำลึกซึ้งได้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

สามารถหาดูของดีนี้ไม่ยาก โดยเฉพาะสามารถเริ่มต้นได้เลยที่ :
http://www.sripruetta.ac.th/~0519/sabai-wording.html

หวังว่าคงได้แนวคิดที่จะรวบรวมงานส่งอาจารย์ได้ทันเวลา.

15 กพ.2545



คำถามที่ 4
ชื่อ รสสุคนธ์ อรุณศิริโชค
ระดับการศึกษา อื่นๆ
โรงเรียน ABAC จังหวัด กรุงเทพฯ
หัวข้อ การศึกษาต่อ
รายละเอียด ได้ทราบมาบ้างจากเพื่อนว่า ทางมหาวิทยาลัยของรัฐบางที่เปิดรับนักศึกษาโดยที่ไม่ต้องสอบ entrance แต่จะเสียค่าเทอมแพงกว่าคนที่ent'เข้ามา จริงหรือเปล่าคะ ถ้าจริงอยากทราบรายละเอียดคร่าวๆ
ว่ามีมหาวิทยาลัยอะไรบ้าง แล้วเขามีข้อกำหนดอะไรบ้างคะ และค่าเทอมที่ว่าแพงกว่าจะประมาณเท่าไร เหมือนกับเอกชนหรือเปล่าคะ ขอบคุณที่ให้คำปรึกษาค่ะ

คำตอบ
เดี๋ยวนี้  มหาวิทยาลัยของรัฐหลายแห่งเริ่มเปิดดำเนินการรับสมัครนักศึกษาเองบ้างแล้ว รายละเอียดแต่ละสถาบัน จะแตกต่างกันไป  ส่วนค่าเทอมจะไม่แพงกว่าคนที่ 'ent เข้ามา ยกเว้นภาคพิเศษ(นอกเวลาราชการ) จะแพงกว่า
ทั้งนี้ผู้สมัครควรจะต้องติดต่อสอบถามข้อกำหนดจากแต่ละแห่งโดยตรง หรือจะหาดูข้อมูลของแต่ละสถาบัน เพิ่มเติมไดอีกที่
http://pantip.inet.co.th/cafe/library/?url=link/
http://www.entrance.com

16 กพ. 2545



คำถามที่ 5
ชื่อ พรทิพย์ ศุภโอภาสพันธุ์
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียน วัดเขมาภิรตาราม จังหวัด นนทบุรี
หัวข้อ การศึกษาต่อ
รายละเอียด สวัสดีค่ะ หนูอยากทราบว่า เราควรเรียนสิ่งที่เราชอบดี หรือเรียนที่จบมาแล้วเป็นที่ต้องการ  ของตลาดดีค่ะ หนูกลุ้มใจมาก คือคะแนนหนูติดประมง ราชมงคล แต่ใจหนูอยากเรียนเกี่ยวกับการเดินทาง
และท่องเที่ยวของเอกชน หนูเครียดมาก ค่าใช้จ่ายในการเรียนค่อนข้างแพง เพราะหนูจะเรียนอินเตอร์ด้วย ถ้าเอกชน  หนูต้องการคำปรึกษามากค่ะ ขอขอบคุณค่ะ

คำตอบ
ทั้งประมงและการท่องเที่ยว  ก็เป็นที่ต้องการของตลาดพอๆกัน หนูได้ประมงแน่นอนแล้วนี่นา ส่วนท่องเที่ยวนั้น  ยังไม่แน่นอนว่าจะเรียนที่ไหน อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็ยังอาจเป็นปัญหา จะเครียดไปทำไม น่าจะเลือกเรียนที่มีปัญหา น้อยที่สุดจะดีกว่า เรียนให้เป็นนักประมงดีเด่นของเอเซียไปเลย

17 กพ. 2545



คำถามที่ 6
ชื่อ พิไลลักษณ์ อัครดำรงชัย
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียน ชลราษฎรอำรุง จังหวัด ชลบุรี
หัวข้อ ภาษาไทย
รายละเอียด คำว่า "ตักเตือน" เป็นคำซ้อนหรือเปล่าคะ

คำตอบ
คำประสม  คือ คำที่เกิดจากการนำคำที่มีความหมายต่างกันมารวมกัน เช่น  แมวมอง  สมใจ
คำซ้อน  คือคำที่เกิดจากการนำคำที่มีความหมายเหมือนกันมารวมกัน เช่น สุขสันต์  บุกรุก เร่งเร้า
คำว่า ตักเตือน  เกิดจาก  คำว่า ตัก และ เตือน  ซึ่งมีความหมายต่างกัน มารวมกัน จึงเป็นคำประสม

18 กพ. 2545



คำถามที่ 7
ชื่อ ธฤตวัน ไชยวสุ
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียน ศึกษานารี จังหวัด กรุงเทพฯ
หัวข้อ ภาษาต่างประเทศ
รายละเอียด อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับภาษาฝรั่งเศส ดังนี้ค่ะ
1. อยากทราบว่า Quand , pendant que กับ au moment ou นั้นใช้ต่างกันยังไงคะ
2. Si มีกี่ประเภท และใช้ต่างกันยังไงคะ ขอบคุณมากค่ะ

คำตอบ
ตอบคำถามข้อ 1.
quand,  pendant que และ  au moment ou  เป็น คำสันธานบอกเวลา  (Concordance des temps)
มีวิธีใช้คล้ายๆ กัน  คือ
Quand =  เมื่อ
Pendant  que = ในระหว่างที่
au moment ou  = ในเวลาที่
ตอบคำถามข้อ 2.
คำว่า   Si  มีหลายความหมาย  หลายวิธีการใช้  ดังนี้
1. Si = Oui
ใช้ตอบรับประโยคคำถามที่เป็นรูปปฏิเสธ
2. Si = ความหมายชักชวน
ใช้นำหน้าประโยคที่กริยากระจายเป็น imparfait
3. Si = มาก
ใช้นำหน้า  คำคุณศัพท์  หรือ คุณกริยา
4. Si = ถ้า
ใช้นำหน้าประโยคเงื่อนไข
ปกติ  ประโยคเงื่อนไข  จะประกอบด้วยประโยคย่อย 2 ประโยค แบ่งเป็น  3  ชนิด คือ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ http://www.sripruetta.ac.th/~0519/data.html#top

20 กพ. 2545



คำถามที่ 8
ชื่อ ชววุฑฒ์ เพ็ชรสงค์
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียน ศรีอยุธยา จังหวัด กรุงเทพฯ
หัวข้อ ภาษาต่างประเทศ
รายละเอียด ผมเรียน ม.5 สายผรั่งเศส อยากถามว่าการท่อง  vocab french ต้องท่องอย่างไรเพื่อไม่ให้เราลืมและจำได้ และการเตรียมent ต้องทำอย่างไรบ้างครับ
การเรียนที่ abac ดีมั้ยครับ

คำตอบ

พรรณี  ชุติวัฒนธาดา
27 กพ. 2545.
 
 
หน้าต่อไป